วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555



ศรคีรี


ศรคีรี เล่าถึงประวัติของตัวเองเอาไว้เมื่อ พ.ศ. 2515 ว่า "บ้านเกิดผมเลขที่ 13 บ้านหนองอ้อ ต. บางกระบือ อ.บางคณที (จ.สมุทรสงคราม ) พ่อผมชื่อมั่ง แม่ชื่อเชื้อ ผมมีพี่น้อง 6 คน ผมเป็นคนสุดท้อง ชื่อจริงผม ชื่อ ศรชัย (น้อย) ทองประสงค์ เกิดวันที่ 4 มีนาคม 2487 ผมเรียนจบ ป.4 ที่โรงเรียนพรหมสวัสดิ์สาธร จบมาก็ช่วยแม่ปาดตาล (มะพร้าว) ปีนต้นตาลทุกวัน มันเหนื่อยก็เลยหยุดพักบนยอดตาล เพื่อ ไม่ให้เสียเวลาผมก็ร้องเพลงบนยอดตาลจนหายเหนื่อยแล้วค่อยทำงานต่อ เพลงที่ชอบร้องก็มี "เสือสำนึกบาป" , "ชายสามโบสถ์" เพราะตอนนั้นเพลงของคำรณ สัมบุณนานนท์ ฮิตเป็นบ้าเลย ตอนนั้นอยาก เป็นนักร้องใจแทบขาด เวลาวงดนตรีของ พยงค์ มุกดา มาแสดงใกล้บ้าน ผมจะไปสมัครร้องให้คุณพยงค์ฟัง แกบอกว่าให้ไปหัดร้องมาใหม่ พยายามอยู่ 2 ครั้งครูพยงค์บอกว่ายังไม่ดี ผมเลย เลิกไปเอง จากนั้นพออายุ 20 ปี บวชได้พรรษาหนึ่งก็สึก พ่อแม่ผมไปซื้อไร่ที่ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ โน่น ตอนนั้นเขากำลังทำไร่สับปะรดกัน"
แต่ประวัติอีกกระแสบอกว่า เพราะรักครั้งแรกเป็นพิษขณะที่บวช เมื่อว่าที่พ่อตาให้ลูกสาวแต่งงานกับชายอื่น เขาจึงเตลิดหนีออกจากบ้านมาอยู่กับพี่ชายที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยพี่ชายแบ่งไร่สับปะรดให้ทำ
ที่นี่ ศรคีรีเริ่มร้องเพลงอีกครั้ง โดยเข้าประกวดร้องเพลงตามงานวัด และคว้ารางวัลมากมาย จนเพื่อนชื่อ พยงค์ วงศ์สัมพันธ์ มาชวนให้ร่วมวงที่เช่าเครื่องดนตรี และจ้างครูดนตรีจากที่ค่าย "ธนะรัชต์" มาสอน เพื่อความสนุกในหมู่บ้าน ต่อมาเมื่อคนรู้จักมากขึ้น จึงตั้งวง "รวมดาววัยรุ่น" ที่ต่อ มาเปลี่ยนชื่อเป็น "รวมดาวเมืองปราณ" รับงานแสดงทั่วไปตามบ้านที่ขายสับปะรดได้โดยไม่คิดเงินทอง ตอนนั้นศรคีรีร้องเพลงแบบรำวง และใช้ชื่อ "พนมน้อย" เพราะร้องเพลงของ พนม นพพร และศักดิ์ชาย วันชัย ต่อมาได้นำวงมาแสดงในงานปีใหม่ของจังหวัด "ประหยัด สมานมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ฟังเสียง และเห็นหน้าก็รักใคร่ชอบพอ จึงเปลี่ยนชื่อให้เป็น ศรคีรี ศรีประจวบ
หลังจากนั้น วิจิตร ฤกษ์ศิลป์วิทยา คนอยู่ใกล้บ้านกันให้การสนับสนุนเพื่อวงดนตรีแข็งแรงขึ้นและพากันเข้ากรุงเทพฯ เช่าเวลารายการวิทยุยานเกราะจาก จำรัส วิภาตะวัธ วิ่งล่องกรุงเทพฯ ประจวบฯอยู่บ่อยๆ ก็ได้พบกับ เพลิน พนาวัลย์ ที่พาเขาไปพบ ครูไพบูลย์ บุตรขัน ที่บ้าน ตามคำขอร้องของศรคีรี

 โด่งดัง

"ภูพาน เพชรปฐมพร" นักร้องที่ใกล้ชิดกับศรคีรีในวง “ รวมดาววัยรุ่น “ เล่าว่า ตอนไปขอเพลง ตอนนั้นครูมีนักร้องที่ดังมากคือ รุ่งเพชร แหลมสิงห์ เป็นลูกศิษย์อยู่ ศรคีรีก็ร้องเพลงแนวเดียว กัน ครูไพบูลย์ก็ไม่ให้ จึงต้องเทียวไปเทียวมาอยู่หลายครั้ง จนครูใจอ่อน เพลงแรกที่ได้มาคือ น้ำท่วม ตอนที่บันทึกเพลง น้ำท่วม จ. ประจวบคีรีขันธ์ เสียหายอย่างมาก สับปะรดถูกน้ำท่วมทั้ง หมด นอกจากนั้น ครูก็ยังให้เพลงมาอีก 3 เพลง คือ "บุพเพสันนิวาส" , "แม่ค้าตาคม" , "วาสนาพี่น้อย" สำหรับการบันทึกเสียงครั้งแรกนั้น ชุดแรกมีทั้งหมด 6 เพลง คือ น้ำท่วม, บุพเพสันนิวาส, วาสนาพี่น้อย, แม่ค้าตาคม, พอหรือยัง และบางช้าง งานนี้ ศรคีรี เปลี่ยนสภาพจากนักร้องเพลง รำวง มาเป็น นักร้องเพลงหวานโดยสมบูรณ์
หลังจากเพลงเริ่มเป็นที่รู้จัก ศรคีรีลงมาอยู่กรุงเทพฯ แต่ยังไม่นำวงดนตรีมาด้วย โดยจะนำมาก็แต่เมื่อมีงาน ครั้งแรกในกรุงเทพฯ เขาเปิดการแสดงงานศพน้องชายครูไพบูลย์ที่วัดหลักสี่ บางเขน จากนั้นวงก็เริ่มรับงานในกรุงเทพฯ และเดินสายทั่วประเทศ และในการออกเดินสายใต้เป็นครั้ง แรก วงประสบความสำเร็จอย่างงดงาม จัดว่าเป็นวงที่มีค่าตัวแพงวงหนึ่ง ช่วงนั้นศรคีรีได้มีโอกาสแสดงหนังของ ครูรังสี ทัศนพยัคฆ์ เรื่อง "มนต์รักจากใจ" ด้วย
ต่อมาศรคีรีมีชื่อเข้าไปพัวพันคดีสังหารคนในวงการด้วยกัน ชื่อเสียงจึงตกลงไปบ้าง แต่ในที่สุดก็พิสูจน์ตัวเองได้ และกลับมาอีกครั้งในเพลง "ตะวันรอนที่หนองหาร" "อยากรู้ใจเธอ" รักแล้งเดือนห้า" "ลานรักลั่นทม" และ "คิดถึงพี่ไหม" ซึ่งเพลงหลังนี้ ขณะบันทึกเสียงศรคีรีร้องโดยปิดไฟมืด ซึ่งเขาไม่เคยทำมาก่อน เพลงนี้แต่งโดย พยงค์ มุกดา โดย ทิว สุโขทัย เคยร้องไว้เป็นคนแรกและเสียชีวิตไปก่อนหน้า และเพลงนี้เป็นเพลงสุดท้ายที่ศรคีรีได้บันทึกเสียงไว้

ลาลับ

ก่อนเสียชีวิต ศรคีรีเคยไปทำการแสดงที่โรงหนังเอกมัยราม่า มีคนนำเอาพวงมาลัยดอกไม้สด แต่คาดด้วยผ้าดำแบบที่ทำไว้สำหรับคนตายมอบให้บนเวทีขณะร้องเพลง ศรคีรีรับไว้ด้วยความเกรงใจ เมื่อกลับเข้าหลังเวที ศรคีรีสั่งเลิกการแสดงคืนนั้นทันทีทั้งที่ร้องเพลงได้เพียง 5 เพลง
ด้วยวัยแค่ 28 ปี ศรคีรี ศรีประจวบ จากโลกนี้ไปเมื่อ 30 มกราคม 2515 ด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ ในเวลาไม่แน่นอน ประมาณ 03.00 - 05.00 น.บริเวณริมถนนพหลโยธิน ต.อ่างทอง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ขณะเดินทางกลับจากการแสดงที่วัดหน้าพระธาตุ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์เข้ากรุงเทพฯ เพื่อเปิดทำการแสดงที่วัดภาษี เอกมัย ในตอนค่ำ คาดว่าคนขับรถของศรคีรีเกิดง่วงนอน จึงจอดรถเก๋งโตโยต้าคราวน์ข้างทางเพื่อพักสักงีบ แต่ปรากฏว่ารถบรรทุกไม้ วิ่งมาด้วยความเร็วสูงประกอบกับบริเวณนั้นเป็นสะพานสูง เมื่อรถบรรทุกไม้วิ่งมาด้วยความเร็ว เมื่อถึงสะพานก็ทำให้รถกระโดดเสียหลัก ขึ้นไปทับรถของศรคีรี ทำให้เขาเสียชีวิตคาที่
หลังแสดงวันนั้น ลูกวงได้ออกเดินทางมายังจุดนัดพบที่ปั้มน้ำมันแห่งหนึ่งก่อน แต่หลังจากที่ลูกวงรออยู่นาน หัวหน้าวงยังเดินทางมาไม่ถึง จึงออกเดินทางต่อ แต่วิ่งไปสักระยะหนึ่ง ก็มีรถพลเมืองดีวิ่งไล่ตามและเรียกให้จอด เพื่อแจ้งข่าวเรื่องการประสบอุบัติเหตุของรถของศรคีรี หลังพบใบปลิวการแสดงปลิวออกจากรถศรคีรีเกลื่อนกลาด หลังรถบัสวิ่งกลับไปก็พบศพดังกล่าว ข้อมูลบางแหล่งบอกว่า ศรคีรี เสียชีวิตประ มาณ 8.00 น.ซึ่งเวลาดังกล่าวน่าจะเป็นเวลาพบศพมากกว่า
ก่อนเสียชีวิต ศรคีรี สมรสแล้ว และมีบุตรธิดารวม 3 คน เป็นชาย 2 หญิง 1 ชื่อ สมศักดิ์ ,ชนัญญา และสันติ
ครูไพบูลย์ บุตรขัน เคยเขียนไว้อาลัยการจากไปของศรคีรีว่า "แด่สุดรัก เธอเกิดมาเป็นผู้กล่อมโลก ฉันเป็นผู้ถ่ายทอดอารมณ์ บัดนี้เธอจากโลกไปแล้วเหลือเพียงเสียงเพลง ศรคีรี ศรีประจวบ ฉันเสียดาย เสียดายจริงๆ เพราะเธอควรจะอยู่กล่อมโลกให้นานกว่านี้ "

 ผลงานเพลงดัง


ศรคีรี ศรีประจวบ บันทึกผลงานเพลงเอาไว้บางส่วน ดังนี้
01. ฝนตกฟ้าร้อง (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 02. วาสนาพี่น้อย (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 03. ขี่เหร่ก็รัก (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 04. บุพเพสันนิวาส (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 05. แม่ค้าตาคม (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 06. น้ำท่วม (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 07. แล้งน้ำใจ (พยงค์ มุกดา) 08. ดอกรักบานแล้ว (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 09. หนุ่มนาบ้ารัก (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 10. ทุ่งรัก (ครูพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา) 11. พอหรือยัง (ชลธี ธารทอง) 12. บางช้าง (ศรคีรี ศรีประจวบ) เพลงแก้คือ สาวบางช้าง - ขวัญดาว จรัสแสง 13. หวานเป็นลมขมเป็นยา (สำเนียง ม่วงทอง) 14. เฝ้าดอกฟ้า (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 15. หนาวลมเรณู (สุรินทร์ ภาคศิริ) (สนธิ สมมาตร์ เคยนำมาร้อง) 16. ตะวันรอนที่หนองหาร (พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา) 17. เสียงขลุ่ยบ้านนา (เกษม สุวรรณเมนะ) (สายัณห์ สัญญา เคยนำมาร้อง แต่เปลี่ยนชื่อเพลงเป็น เสียงขลุ่ยเรียกนาง) เพลงแก้คือ มนต์ขลังเสียงขลุ่ย - วันเพ็ญ เดือนเต็มดวง 18. มนต์รักแม่กลอง (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 19. หนุ่มกระเป๋า (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 20. รักแล้งเดือนห้า (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 21. ลานรักลั่นทม (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 22. รักจากใจ (สำเนียง ม่วงทอง) 23. ไปให้พ้น (สมนึก ปราโมทย์) 24. คนมีเวร (สงเคราะห์ สมัตภาพงษ์) 25. อยากรู้ใจเธอ (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 26. เข็ดแล้ว (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 27. พระอินทร์เจ้าขา (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) เพลงแก้คือ เทวดาเจ้าคะ - เตือนใจ บุญพระรักษา 28. คิดถึงพี่ไหม (พยงค์ มุกดา) เพลงแก้คือ น้องคิดถึงพี่ - ขวัญดาว จรัสแสง 29. ทุ่งสานสะเทือน (พยงค์ มุกดา) 30. เสียงซุงเว้าสาว (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 31. รักเธอหมดใจ (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 32. กล่อมนางนอน (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 33. แม่กระท้อนห่อ (พยงค์ มุกดา) 34. หนุ่มนา (พยงค์ มุกดา)

ผลงานการแสดง

  • มนต์รักจากใจ

 เกียรติยศ

  • ปี 2547 ผลงานเพลง"เสียงขลุ่ยเรียกนาง"ของศรคีรี ศรีประจวบ จากการประพันธ์โดย เกษม สุวรรณเมนะ และขับร้องใหม่โดย ไท ธนาวุฒิ ได้รับรางวัล"มาลัยทอง"ประเภทเพลงเก่าทำใหม่ยอดเยี่ยม
 
 

ขวัญจิต ศรีประจันต์

ขวัญจิต ศรีประจันต์ (3 สิงหาคม พ.ศ. 2490 - )เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน-อีแซว) ปี 2539 จากการเป็นแม่เพลงพื้นบ้านภาคกลางที่มีชื่อเสียง เต็มไปด้วยความสามารถในการเล่นเพลงแบบหาตัวจับได้ยาก และเมื่อหันเข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่ง ก็ได้รับความนิยมอย่างสูง มีผลงานเพลงดังมากมาย ในจำนวนนั้นก็เป็นเพลงที่เกิดจากการแต่งของตัวเองด้วยหลายเพลง โดยในการนำเสนอเพลงลูกทุ่ง ขวัญจิต ศรีประจันต์ ก้ได้นำท่วงทำนองเพลงพื้นบ้านภาคกลางเข้ามาผสมผสานอย่างลงตัว


เข้าสู่วงการ


ขวัญจิต ศรีประจันต์ สนใจเพลงพื้นบ้านมาตั้งแต่อายุ 15 ปี และแม้เชื้อสายทางพ่อจะมีญาติเป็นพ่อเพลงที่มีชื่อเสียงของสุพรรณบุรี แต่พ่อก็ไม่สนับสนุนให้เป็นแม่เพลงพื้นบ้านด้วยเกรงว่าความเป็นสาวรุ่นจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องชู้สาวตามมา แต่กลับสนับสนุนลูกสาวอีกคนหนึ่งที่อายุยังน้อยให้ไปฝึกหัดเพลงพื้นบ้านกับพ่อเพลงไสว วงษ์งามแทน ความสนใจเพลงพื้นบ้าน ทำให้ขวัญจิตติดตามดูการร้องเพลงอีแซวของแม่เพลงบัวผัน จันทร์ศรี (ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2533) เป็นประจำและต่อมาได้มีโอกาสไปดูแลน้องสาวที่อยู่กับครูไสว จึงได้เรียนรู้การเล่นเพลงอีแซวแบบครูพักลักจำจนท่องเนื้อเพลงได้หลากหลายทั้งลีลาเพลงแนวผู้ชายของครูไสวและเพลงแนวผู้หญิงของครูบัวผัน
ขวัญจิต เป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือ และวรรณคดีเก่าๆของไทยอ่านแล้วก็นำเนื้อหานั้นมาแต่งเป็นเพลงอีแซว ร้องเล่นจนเกิดความแตกฉานซึ่งต่อมาได้ขอครูไสว แสดงบ้าง แม้ในระยะแรกๆครูไสวจะยังไม่อนุญาต แต่ในเวลาต่อมาเมื่อได้เห็นความอดทน ความตั้งใจจริง จึงอนุญาตให้แสดงความสามารถ และด้วยพลังเสียงที่กังวานมีไหวพริบ ปฏิภาณ เฉลียวฉลาดในการว่าเพลง ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของนักฟังเพลงอีแซวยิ่งนัก
ขวัญจิต ได้ตระเวนเล่นเพลงอีแซวอยู่กับวงพื้นบ้านอีกหลายวงเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์จากพ่อเพลง แม่เพลงอีกหลายคนและเริ่มแสดงเพลงอีแซวในต่างจังหวัด และในกรุงเทพมหานคร ในงานสังคีตศาลา หรืองานสงกรานต์ที่ท้องสนามหลวงเป็นประจำ ทำให้มีความแตกฉานในเรื่องเพลงอีแซวมากยิ่งขึ้น สามารถเขียนเพลงเอง เพื่อใช้ในการแสดงและโต้ตอบเพลงสดๆ กับพ่อเพลงได้อย่างคมคายเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม หลังจากเล่นเพลงอีแซวจนมีชื่อเสียงแล้วขวัญจิต ได้สมัครเป็นนักร้องลูกทุ่งโดยเริ่มอยู่กับวงดนตรีลูกทุ่งคณจำรัศ สุวคนธ์(น้อย) และวงไวพจน์ เพชรสุพรรณ โดยได้บันทึกแผ่นเสียงเพลงแรกชื่อเพลง เบื่อสมบัติ งานเพลงของครู จิ๋ว พิจิตร เมื่อ ปี 2510 ทำให้เริ่มมีชื่อเสียงจากเพลงลูกทุ่งจากเพลง “เบื่อสมบัติ” , “ลาน้องไปเวียดนาม”, “ลาโคราช”, “ขวัญใจโชเฟอร์” , “เกลียดคนหน้าทน” , “ขวัญใจคนจน” “แม่ครัวตัวอย่าง “ และ “แหลมตะลุมพุก
จากนั้นได้แต่งเพลงเองได้แก่ “กับข้าวเพชฌฆาต” , “น้ำตาดอกคำใต้” , “สาวสุพรรณ “ ซึ่งเป็นเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้เป็นอย่างมาก ต่อมาจึงได้ตั้งวงดนตรีของตนเอง ชื่อวงขวัญจิต ศรีประจันต์ เป็นวงดนตรีที่นำระบบแสง สี เสียง ที่น่าตื่นตาตื่นใจมาใช้ประกอบการแสดงนำเพลงอีแซวมาผสมผสานกับการแสดงเผยแพร่สู่ผู้ฟังทั่วประเทศจนเป็นที่รู้จักกันอย่างเป็นอย่างดี
พ.ศ. 2516 ขวัญจิต ยุติวงดนตรีลูกทุ่งแล้วกลับไปฟื้นฟูเพลงอีแซวที่ จ.สุพรรณบุรี อุทิศชีวิตในการอนุรักษ์ฟื้นฟู เผยแพร่และถ่ายทอดเพลงอีแซวให้กับลูกศิษย์และผู้สนใจมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน ได้ใช้ความรู้ความสามารถช่วยเหลือสถาบันการศึกษาและหน่วยงานราชการในการเป็นวิทยากรสาธิต รับแขกบ้านแขกเมืองด้วยการแสดงพื้นบ้านติดต่อกันมาอย่างยาวนาน


ผลงานเพลงดัง
  • กับข้าวเพชฌฆาต
  • เบื่อสมบัติ
  • แม่ครัวตัวอย่าง
  • ก็นั่นนะซิ
  • พ่อเพาเว่อร์
  • เศรษฐีเมืองสุพรรณ
  • ผัวบ้าๆ
  • น้ำตาดอกคำใต้
  • สาวสุพรรณ
  • สุดแค้นแสนรัก
  • อ้อมอกเจ้าพระยา
  • แหลมตะลุมพุก
  • ทำบุญวันเกิด
  • ลาน้องไปเวียดนาม
  • ลาโคราช
  • ขวัญใจโชเฟอร์
  • เกลียดคนหน้าทน
  • ขวัญใจคนจน
  • หม้ายขันหมาก (ต้นฉบับ)
  • ผัวหาย
  • ฯลฯ เป็นต้น

 ผลงานภาพยนตร์

 ชีวิตครอบครัว

สมรสกับนายเสวี ธราพร มีบุตร 3 คน เป็น ชาย 1 คน และหญิง 2 คน

เกียรติยศ




หวังเต๊ะ

หวังเต๊ะ มีชื่อจริงคือ หวังดี นิมา เกิดเดือนมีนาคม พ.ศ. 2468 ที่จังหวัดปทุมธานี เป็นชาวมุสลิม เป็นศิลปินเพลงพื้นบ้านที่มีความเชี่ยวชาญเพลงลำตัดเป็นพิเศษ ได้ตั้งคณะลำตัดชื่อ “คณะหวังเต๊ะ” รับงานแสดงมานานกว่า 40 ปี จนชื่อ หวังเต๊ะ กลายเป็นสัญลักษณ์ของลำตัด เป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์และสืบทอดการแสดงพื้นบ้านได้อย่างน่าภาคภูมิใจยิ่ง ท่านมีความสามารถมีปฏิภาณไหวพริบ มีคารมคมคาย สามารถด้นกลอนสดและแต่งคำร้องได้อย่างยอดเยี่ยมโดยจะเน้นในด้านสุนทรียภาพ ความไพเราะงดงามทางภาษา ท่านใช้ความสามารถและศิลปะการแสดงประกอบสัมมาชีพอย่างซื่อสัตย์มาโดยตลอด ท่านมีความมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์ ถ่ายทอด เผยแพร่ศิลปะการแสดงลำตัดแก่อนุชนรุ่นหลัง เพื่อเป็นการสืบสานมรดกไทยไว้เป็นเอกลักษณ์ของชาติสืบไป หวังเต๊ะได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน) ประจำปี 2531
ในบั้นปลายชีวิต ได้ป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จนกระทั่งถึงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ก็ถึงแก่กรรม สิริอายุได้ 87 ปี


คำประกาศเกียรติคุณ

นายหวังดี นิมา หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนามหวังเต๊ะ เกิดเมื่อเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๔๖๘ ที่จังหวัดปทุมธานี หวังเต๊ะ เป็นศิลปินผู้มีความสามารถเป็นเลิศด้านศิลปะเพลงพื้นบ้าน มีความชำนาญเป็นพิเศษในการแสดงลำตัด โดยตั้งคณะชื่อลำตัดหวังเต๊ะรับงานแสดงเป็นอาชีพมาจนถึงปัจจุบันกว่า ๔๐ ปี จนชื่อหวังเต๊ะแทบจะกลายเป็นสัญลักษณ์ของลำตัด แม้ว่าจะชำนาญในเพลงพื้นบ้านแบบอื่น ๆ ด้วย กล่าวได้ว่า หวังเต๊ะ เป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์และสืบทอดศิลปะการแสดงพื้นบ้านให้ยืนยงอยู่ได้อย่างน่าภาคภูมิยิ่ง หวังเต๊ะเป็นศิลปินที่มีความสามารถรอบตัว มีความเป็นเลิสทั้งด้านปฏิภาณและความคิดในการแสดงเพลงพื้นบ้าน สามารถด้นกลอนสดและแต่งคำร้องได้อย่างคมคาย เหมาะสมกับลีลาและสถานการณ์ สร้างความบันเทิงเริงรมย์แก่ผู้ฟังผู้ชมตลอดเวลา อย่างยากจะหาใครเทียบได้ทั้งในอดีตและปัจจุบัน หวังเต๊ะได้แสดงให้มหาชนประจักษ์ถึงอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาและการแสดงได้อย่างเชี่ยวชาญ สมกับสุนทรียลักษณ์ของภาษาไทยที่มีมาแต่โบราณกาล หวังเต๊ะเป็นศิลปินผู้มีคุณธรรม ได้ใช้ศิลปะการแสดงเป็นสัมมาชีพอย่างซื่อสัตย์ตลอดมา ทั้งได้ถ่ายทอดศิลปะวิชาให้แก่ทั้งบุคคลในคณะและสถาบันต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ นับว่าหวังเต๊ะเป็นศิลปินที่ได้บำเพ็ญประโยชน์ทั้งด้านสร้างสรรค์และอนุรักษ์ศิลปะ อันเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมไทยมาตลอดระยะเวลายาวนาน

นายหวังดี นิมา หรือหวังเต๊ะ สมควรได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน) ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๓๑



คลิปผลงานบางส่วน “ครูหวังเต๊ะ”


วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความเป็นมาวันแม่จัดขึ้นครั้งแรก                                   

    งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515
แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ

ดอกมะลิ สัญลักษณ์ของวันแม่

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล (ภายหลังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ)กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ณ บ้านของพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (ม.ร.ว.สท้าน สนิทวงศ์) และท้าววนิดาพิจาริณี บิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว กิติยากร ตั้งอยู่ที่ 1808 ถนนพระรามที่ 6 อำเภอปทุมวัน จ.พระนคร  ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "สิริกิติ์" มีความหมายว่า "ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร"

ตราประจำพระองค์

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระภาดา (พี่ชาย) 2 องค์ และและพระขนิษฐภคินี (น้องสาว) 1 องค์ ดังนี้ หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2472) หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2473) และ หม่อมราชวงศ์หญิง บุษบา กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2477)
ในระหว่างยังทรงพระเยาว์ สถานการณ์บ้านเมืองไม่สู้สงบนัก เนื่องจากเพิ่งพ้นจากช่วงของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ไม่นาน หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้องทรงออกจากราชการ รัฐบาลแต่งตั้งให้ไปรับตำแหน่งเลขานุการเอกประจำสถานทูตสยาม ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ส่วนหม่อมหลวงบัวซึ่งมีครรภ์แก่ ได้เดินทางไปสมทบหลังจากให้กำเนิดหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์แล้ว โดยมอบหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ให้อยู่ในความดูแลของบิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว ดังนั้นจึงต้องอยู่ไกลจากบิดามารดาตั้งแต่อายุน้อย บางคราวต้องเดินทางไปต่างจังหวัด เช่น พ.ศ. 2476 หม่อมเจ้าอัปสรสมาน กิติยากร พระมารดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ทรงรับนัดดาตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปอยู่ที่จังหวัดสงขลา ปลายปี พ.ศ. 2477 หม่อมเจ้านักขัตรมงคลทรงลาออกจากราชการแล้วกลับมาประเทศไทย จึงทำให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ซึ่งขณะนั้นอายุได้ 2 ปี 6 เดือน ได้กลับมาอยู่รวมพร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว ณ ตำหนักบริเวณถนนกรุงเกษม ปากคลองผดุงกรุงเกษม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

การศึกษา

พ.ศ. 2479 เมื่อหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์มีอายุได้ 4 ขวบ ก็ได้เข้ารับการศึกษาครั้งแรกในชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินี ทว่าในขณะนั้น แม้เหตุการณ์ด้านการเมืองภายในประเทศไทยจะสงบลง แต่สถานการณ์ระหว่างประเทศก็ไม่สงบ กล่าวคือ สงครามมหาเอเชียบูรพาเริ่มแผ่ขยายมาถึงประเทศไทย กรุงเทพมหานครถูกโจมตีทางอากาศหลายครั้งจนการคมนาคมไม่สะดวก พระบิดาจึงให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ เพราะอยู่ใกล้วังพระบิดา ได้เรียนที่นั่นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จนจบชั้นมัธยมศึกษา หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้เรียนเปียโน ซึ่งเรียนได้ดีและเร็วเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสด้วย
พ.ศ. 2489 ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้องเสด็จไปดำรงตำแหน่งรัฐทูตวิสามัญและอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำสำนักเซนต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้โดยได้ทรงพาครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ด้วย ในเวลานั้นหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ มีอายุได้ 13 ปีเศษ และเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว
ขณะที่อยู่ในประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้ศึกษาต่อทั้งวิชาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส และวิชาเปียโนกับครูพิเศษ หลังจากนั้นไม่นาน พระบิดาย้ายไปเดนมาร์กและฝรั่งเศส ตามลำดับ ขณะที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ก็ยังคงเรียนเปียโน และตั้งใจจะศึกษาต่อในวิทยาลัยการดนตรีที่มีชื่อเสียงของกรุงปารีส
ระหว่างที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้มีโอกาสรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช (ขณะนั้นทรงศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์) ซึ่งพระองค์เสด็จประพาสกรุงปารีส โดยทางรถยนต์จากสวิตเซอร์แลนด์ เพราะประสงค์จะเลือกซื้อรถยนต์พระที่นั่งแทนคันเดิม และยังได้รับชมการแสดงดนตรีของคณะที่มีชื่อเสียงด้วย ในระหว่างที่เสด็จพระราชดำเนินมายังกรุงปารีส ก็ได้ประทับที่สถานทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศสเช่นเดียวกันกับนักเรียนไทยคนอื่นในสมัยนั้น ทั้งนี้เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโปรดการดนตรีเป็นพิเศษ ขณะที่หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ก็สนใจศิลปะเช่นกัน ทำให้เกิดความความสัมพันธ์ขึ้น

ทรงหมั้น

วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งโดยมีหม่อมหลวงบัวและหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ เข้าเฝ้าฯ เยี่ยมพระอาการเป็นประจำ และในช่วงระยะเวลาที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่เฝ้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สวิตเซอร์แลนด์นั้น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (พระนามในเวลานั้น) ได้ทรงรับเป็นธุระจัดการให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เข้าศึกษาในโรงเรียน Pensionnat Riante Rive [ต้องการแหล่งอ้างอิง] ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำแห่งหนึ่งของโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายจากอาการประชวรแล้ว ก็ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เป็นการภายในเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492
หลังจากทรงหมั้นแล้ว หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ยังคงศึกษาต่อ กระทั่ง พ.ศ. 2493 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครเพื่อร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระองค์ท่านโปรดฯ ให้หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ตามเสด็จพระราชดำเนินกลับมาด้วย
อภิเษกสมรส

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงสายสะพายนพรัตน์ราชวราภรณ์เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้น ณ วังสระปทุม และโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์
หลังจากครองราชย์สมบัติอย่างกะทันหัน พระบาทสมเด็จพระหัวอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 และโปรดฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี หลังจากนั้นทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ กลับไปยังสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงรักษาพระองค์และทรงศึกษาต่อ แล้วเสด็จฯ กลับมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2495
พระราชโอรสธิดา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดา 4 พระองค์ ดังนี้
1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติ ณ สถานพยาบาลมองซัวซี นครโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494 ต่อมาได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์ (ปัจจุบัน ทรงพระนามว่า ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริโสภาพรรณวดี) เพื่อสมรสกับนายปีเตอร์ เลด เจนเซ่น ชาวอเมริกัน ทรงมีพระโอรส 1 องค์ และพระธิดา 2 องค์
2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักราดิศรสันตติวงศ์ เทเวศรธำรงสุรบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดชภูมิพลนเรศวรางกูร กิติสิริสมบูรณ์ สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2495 ต่อมา ทรงได้รับการสถาปนา ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร เมื่อ พ.ศ. 2515
3. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ต่อมาทรงได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอิสริยยศ เป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อ พ.ศ. 2520
4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม พ.ศ. 2500 ทรงอภิเษกสมรสกับ เรืออากาศโท (ยศในขณะนั้น) วีระยุทธ ดิษยะศริน ทรงมีพระธิดา 2 พระองค์
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
เมื่อ พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออกผนวชเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน และระหว่างที่ผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ปีเดียวกัน


กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ

ดอกมะลิ ดอกไม้สัญลักษณ์วันเเม่
1. ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ
2. ร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพรแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
3. การประดับไฟเฉลิมพระเกียรติ และประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
4. จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ การแสดง การประกวดต่างๆ เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
5. การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล
6. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่
 
ความเป็นมาของวันแม่
 
 
ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว
  สำหรับในประเทศไทยนั้นมีการจัดงานวันแม่ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2486 ณ.สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไปโดยปริยาย หลังจากผ่านพ้นวิกฤติสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง แต่กำหนดวันแม่ที่ประชาชนนิยม และเป็นที่รับรองของรัฐบาล คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 กำหนดงานวันแม่ในวันนี้ยังดำเนินต่อมาอีกหลายปี ก็ต้องมาหยุดชะงักลงอีก ด้วยเหตุผลที่ว่าสภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ซึ่งก็คือกระทรวงวัฒนธรรมที่ถูกยุบไปนั่นเอง
  ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย เห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีก และได้กำหนดให้จัดงานวันแม่ คือวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งในปี พ.ศ.2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม ่โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมา



  เหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย...

  นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า "แม่" ของทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ (Bilabial) ได้แก่ ม , พ , ป ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรกที่เด็กสามารถทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง ดังเช่น
ภาษาไทย แม่
ภาษาจีน ม๊ะ หรือ ม่า
ภาษาฝรั่งเศส la mere (ลา แมร์)
ภาษาอังกฤษ mom , mam
ภาษาโซ่ ม๋เปะ
ภาษามุสลิม มะ
ภาษาไทใต้คง เม
เป็นต้น 








หลักศิลาจารึก






ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือ ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 เป็นจารึกหลักแรกที่ใช้ภาษาไทยและตัวอักษรไทย ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ขึ้นเป็นต้นเค้าของตัวอักษร และวิธีการเขียนหนังสือไทยในปัจจุบัน โดยมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่ยังคงเอกลักษณ์เดิม
            ศิลาจารึกหลักนี้มีลักษณะเป็นแท่นหินรูปสี่เหลี่ยม ยอดกลมมน สูง 1 เมตร 11 เซนติเมตร หนา 35 เซนติเมตร เป็นหินชนวนสีเขียวมีจารึกทั้ง 4 ด้าน ด้านที่ 1 มี 35 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 25 บรรทัด ด้านที่ 3 มี 27 บรรทัด และด้านที่ 4 มี 27 บรรทัด ทุกหน้ามีรอยชำรุดขีดข่วน และถูกกะเทาะ เนื่อกจากทิ้งร้างเป็นเวลานานหลายร้อยปี ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยที่ทรงผนวชและเสด็จธุดงค์ไปสุโขทัยเมืองเก่า ทรงพบศิลาจารึกแท่งนี้ เมื่อ พ.ศ. 2376 มีข้อความปรากฎในสมุดจดหมายเหตุของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ว่า... "เมื่อศักราช 1195 ปีมะเส็ง เบญจศก จะเสด็จขึ้นไปประภาสเมืองเหนือ มัศการเจดียสฐานต่างๆ ...  ทรงพบ "เสาศิลา" ที่มาแต่เมืองสุโขทัย มีข้อความเกี่ยวกับหนังสือไทยแรกมีขึ้นในเมืองนั้น  โปรดเกล้าฯ ให้นำพร้อมกับพระแท่นมนังคศิลา ลงมาไว้ที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ซึ่งทรงประทับอยู่  เมื่อเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศน์ ก็โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาไว้ที่วัดนั้นด้วย"  คงจะได้ทรงศึกษาตัวอักษรและข้อความระหว่างนั้น ครั้นเสด็จเสวยราชย์แล้ว โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปไว้ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งไว้ที่ศาลาราย ข้างด้านเหนือพระอุโบสถหลังที่สอง นับจากตะวันตก จนถึง พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมารวมกับศิลาจารึกหลักอื่นๆ ที่ได้พบภายหลัง เก็บไว้ที่ตึกถาวรวัตถุหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษส์  ต่อจากนั้นมีการย้ายที่เก็บอีกหลายครั้ง จนในปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร   ก่อนอ่านจารึก                    ผู้อ่านจารึกได้เป็นคนแรก     คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เข้าใจว่าคงเริ่มพยายามศึกษาตั้งแต่ครั้งยังทรงผนวชอยู่ ในเรื่องที่เกี่ยวกับจารึกนั้น โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นแม่กองคณะนักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันคัดตัวอักษรจากแผ่นศิลาลงแผ่นกระดาษ ดังปรากฎตัวอย่างหน้าแรกที่พระราชทาน เซอร์ ยอห์น โบวริ่ง (John Bowring) เอกอัครราชฑูตอังกฤษ และได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือ The Kingdom and People of Siam ของ  เซอร์ ยอห์น โบวริ่ง นอกจากนี้ ยังได้พระราชทานราชฑูตฝรั่งเศสชุดหนึ่งด้วย              การคัดสำเนาศิลาจารึกนี้มีหลายครั้ง และมีการตึพิมพ์คำอ่านครั้งแรกในหนังสือวชิรญาณ ตอนที่ 36 เดือนกันยายน ร.ศ. 116 (พ.ศ.2440) หน้า 3543-3577  ให้ชื่อเรื่องว่า "อภินิหารการประจักษ์" ต่อมาเมื่อสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งสภานายกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร ทรงรวมเรื่องศิลาจารึกเกี่ยวกับสุโขทัยไว้ในหนังสือชุดประชุมพงศาวดาร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2457              ต่อมาเมื่อหอสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครได้จ้างศาสตราจารย์ยอร์ซ เซเดส์ (Goerge Coedes) เป็นบรรณารักษ์ใหญ่ คณะกรรมการหอพระสมุดฯ ได้มอบหมายให้ท่านเป็นผู้ตรวจค้นสอบสวนอ่านแปลศิลาจารึกภาษาต่างๆ ที่หอพระสมุดได้รวบรวมเอาไว้ ได้พิมพ์คำอ่านศิลาจารึกสุโขทัยหลายหลัก รวมทั้งหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อ พ.ศ. 2467 ในงานทำบุญฉลองครบอายุ 4 รอบ ของพระยาราชนุกูล (อวบ เปาโรหิตย์)  เรียกหนังสือนี้ว่า "ประชุมจารึกสยามภาคที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง" ที่หอสมุดแห่งชาติจัดพิมพ์ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2520
 
คัดลอก, อ้างอิง  ศาสตราจารย์ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ :
เอกสารสัมมนาเตรียมการจัดสัปดาห์ห้องสมุด ปีที่ 28, 2546.  ข้อมูลโดย : งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด


คำขวัญกรุง​เทพ








MThai News : จากที่ กทม. ได้จัดโครงการประกวดคำขวัญกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้คัดเลือกคำขวัญที่รอบสุดท้าย 5 คำขวัญ เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมโหวตผ่านทางไปรษณียบัตร โดยเจ้าของคำขวัญที่ได้รับคะแนนโหวตสูงสุดจะได้รับเงินรางวัลจำนวน 500,000 บาท และผู้ที่ส่งไปรษณียบัตรร่วมโหวตจะมีสิทธิลุ้นรับเงินรางวัล 100,000 บาท นั้น
ล่าสุด นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า มีประชาชนร่วมส่งไปรษณียบัตรโหวตทั้งสิ้น 125,959 ใบ และทาง กทม. ได้สรุปผลโหวตแล้วดังนี้
อันดับที่ 1 กรุง​เทพฯ ดุจ​เทพสร้าง ​เมืองศูนย์กลาง​การปกครอง วัด วัง งาม​เรืองรอง ​เมืองหลวงของประ​เทศ​ไทย คะ​แนน​โหวต 42,514 คะ​แนน
อันดับที่ 2 พระ​แก้วมรกตล้ำค่า ​เสาชิงช้าคู่​เมือง พระมหาราชวังลือ​เลื่อง ​เมืองน่าท่อง​เที่ยวอันดับ​โลก คะ​แนน​โหวต 36,605 คะ​แนน
อันดับที่ 3 พระราชวังสง่างาม พระอาราม​เพริศ​แพร้ว พระ​แก้วมรกตคู่​เมือง ที่ท่อง​เที่ยวลือ​เลื่อง นามกระ​เดื่อง​เมืองหลวง​ไทย คะ​แนน​โหวต 16,148 คะ​แนน
อันดับที่ 4 วัด​เวียงวังงาม​เลิศล้ำ วัฒนธรรมงาม​เสริมส่ง ราชธานีงามยืนยง สืบธำรง​ความ​เป็น​ไทย คะ​แนน​โหวต 16,037 คะ​แนน
อันดับที่ 5 กรุง​เทพมหานคร​เมืองฟ้า ​ความก้าวหน้ารุ่ง​เรือง ฟู​เฟื่องวัฒนธรรม ​เลิศล้ำ​ความ​เป็น​ไทย คะ​แนน​โหวต 14,591 คะ​แนน
ทั้งนี้ คำขวัญที่ได้รับคะแนนโหวตสูงที่สุดจะถูกนำมาใช้เป็น คำขวัญประจำกรุงเทพ และใช้ในโอกาสงานพิธีสำคัญต่างๆ



วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส


วันแม่ของประเทศฝรั่งเศส                  

 อาทิตย์แรกของเดือนมิถุนายน หรืออาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม



จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส
Mary Tudor and Charles Brandon.jpg
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระนามาภิไธยแมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส
พระมเหสีในพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส
ชาร์ลส์ แบรนดอน ดยุคแห่งซัฟโฟล์คที่ 1
วันประสูติ18 มีนาคม ค.ศ. 1496
ที่ประสูติพระราชวังริชมอนด์ ราชอาณาจักรอังกฤษ
วันสิ้นพระชนม์25 มิถุนายน ค.ศ. 1533
ที่สิ้นพระชนม์ซัฟโฟล์ค ราชอาณาจักรอังกฤษ
ราชวงศ์ทิวดอร์
วาลัวส์
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ
พระมารดาเอลิซาเบธแห่งยอร์ค สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ
พระโอรส/ธิดาเฮนรี แบรนดอน เอิร์ลแห่งลิงคอล์นที่ 1
ฟรานซ์ เกรย์ ดัชเชสแห่งซัฟโฟล์ค
เอเลนอร์ คลิฟฟอร์ด เคานเทสแห่งคัมเบอร์แลนด์
ระยะเวลาเป็นราชินี9 ตุลาคม ค.ศ. 1514 - 1 มกราคม ค.ศ. 1515
แมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Marie d'Angleterre (ออกเสียง), อังกฤษ: Mary Tudor, Queen of France) (18 มีนาคม ค.ศ. 1496 - 25 มิถุนายน ค.ศ. 1533) แมรี ทิวดอร์ เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1514 ถึงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1515
แมรีประสูติเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1496 ที่พระราชวังริชมอนด์ในราชอาณาจักรอังกฤษ ทรงเป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ และเอลิซาเบธแห่งยอร์ค แมรีทรงเป็นพระขนิษฐาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 พระองค์ทรงเสกสมรสครั้งแรกกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส เมื่อพระเจ้าหลุยส์เสด็จสวรรคตพระองค์ก็ทรงเสกสมรสเป็นครั้งที่สองกับชาร์ลส์ แบรนดอน ดยุคแห่งซัฟโฟล์คที่ 1 (Charles Brandon, 1st Duke of Suffolk)





















การเสกสมรสครั้งแรก: พระราชินีของฝรั่งเศส



เจ้าหญิงแมรีทรงเป็นพระราชบุตรีองค์ที่ห้าในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 และเอลิซาเบธแห่งยอร์ค เมื่อยังทรงพระเยาว์พระองค์ทรงมีความสนิทสนมอย่างใกล้ชิดกับพระเชษฐาเจ้าชายเฮนรี จนพระเจ้าเฮนรีประทานพระนามพระธิดาองค์โตตามพระนามของพระองค์ – แมรี นอกจากนั้นก็ยังทรงตั้งชื่อเรือรบหลวงว่า “กุหลาบแมรี” (Mary Rose) เพื่อเป็นเกียรติแก่พระองค์
เจ้าหญิงแมรีทรงได้ชื่อว่าเป็นผู้มีพระสิริโฉมงดงามที่สุดพระองค์หนึ่งในบรรดาเจ้าหญิงในยุโรป[1] พระองค์ทรงถูกหมั้นหมายกับสมเด็จพระจักรพรรดิชาร์ลส์ที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1507 แต่สถานะการณ์อันผันผวนทางการเมืองของยุโรปทำให้การเสกสมรสมิได้เกิดขึ้น[2] คาร์ดินัลทอมัส โวลซีย์ (Thomas Wolsey) จึงหันมาเจรจาสันติภาพกับฝรั่งเศส และเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1514 เมื่อมีพระชนมายุได้ 18 พรรษาเจ้าหญิงแมรีก็ทรงเสกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสผู้มีพระชนมายุ 52 พรรษาโดยมีแอนน์ โบลีนเป็นหนึ่งในนางสนองพระโอษฐ์ ราชทูตเวนิสบรรยายเจ้าหญิงแมรีว่า “ทรงมีพระวรการสูงเพรียว พระเนตรสีเทาที่ดูซีดปราศจากสี” ทรงฉลองพระองค์ไหมที่งดงามโดยมีพระเกศาสยายลงมาถึงบั้นพระองค์[3] แม้ว่าจะทรงเสกสมรสมาก่อนหน้านั้นแล้วสองครั้งแต่พระเจ้าหลุยส์ก็ยังคงพยายามที่จะมีรัชทายาท แต่พระองค์ก็มาเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1515 เพียงไม่ถึงสามเดือนหลังจากการเสกสมรส ที่ว่ากันว่าเกิดจากการที่ทรงหักโหมในกิจกรรมในห้องพระบรรทม แต่การเสกสมรสครั้งสุดท้ายก็มิได้ทำให้ทรงมีพระราชโอรสเช่นเดียวกับสองครั้งแรก หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าหลุยส์แล้วพระเจ้าฟรองซัวส์พระมหากษัตริย์องค์ใหม่ก็พยายามเสกสมรสกับพระราชินีหม้ายแต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น[4]

[แก้] การสมรสครั้งที่สอง: ดัชเชสแห่งซัฟโฟล์ค

พระราชินีแมรีไม่ทรงมีความสุขกับชีวิตสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าขณะนั้นทรงตกหลุมรักชาร์ลส์ แบรนดอน ดยุคแห่งซัฟโฟล์คที่ 1 อยู่แล้ว[5] สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 เองก็ทรงทราบความรู้สึกของพระขนิษฐา[6] แต่ก็ยังทรงหวังจะใช้การสมรสของแมรีให้เป็นประโยชน์ทางการเมืองต่อไป ฉะนั้นเมื่อทรงส่งให้แบรนดอนไปรับตัวพระราชินีแมรีในเดือนมกราคม ค.ศ. 1515 พระองค์ก็ให้แบรนดอนให้คำสัญญาว่าจะไม่ของแมรีแต่งงาน[7] แต่แมรีและแบรนดอนก็แต่งงานกันอย่างลับๆ ในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ซึ่งตามกฎแล้วก็เป็นการกระทำที่ถือว่าเป็นการกบฎต่อแผ่นดินเพราะแบรนดอนแต่งงานกับเจ้าหญิงในราชตระกูลโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากพระเจ้าเฮนรี พระเจ้าเฮนรีทรงมีความพิโรธเป็นอันมาก ฝ่ายองคมนตรีก็ยุให้พระองค์จับแบรนดอนและประหารชีวิต แต่คาร์ดินัลทอมัส โวลซีย์เข้ามาช่วยไกล่เกลี่ย และพระเจ้าเฮนรีเองก็ทรงโปรดปรานทั้งแบรนดอนและพระขนิษฐา ทั้งสองคนจึงถูกลงโทษเพียงเสียค่าปรับเป็นจำนวนมหาศาล (ประมาณ £7,200,000 เมื่อเทียบกับค่าเงินในปัจจุบัน) แต่ก็ได้รับการผ่อนผันบ้างต่อมา[8] แบรนดอนและแมรีสมรสกันอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1515 พระราชวังกรีนนิช
แม้ว่าจะทรงเสกสมรสเป็นครั้งที่สองในอังกฤษแต่แมรีก็ยังรู้จักกันในนามว่า “พระราชินีฝรั่งเศส” และไม่เป็นที่รู้จักกันตามบรรดาศักดิ์ว่าเป็น “ดัชเชสแห่งซัฟโฟล์ค” เมื่อทรงมีชีวิตอยู่[9] แมรีทรงใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่ที่ตั้งของดัชชีในซัฟโฟล์ค[10]
ความสัมพันธ์ระหว่างแมรีและสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 มาห่างเหินกันในปลายคริสต์ทศวรรษ 1520 เมื่อแมรีไม่ทรงเห็นด้วยกับการขอให้ประกาศการแต่งงานกับแคเธอรีนแห่งอารากอนเป็นโมฆะของพระเชษฐา แมรีคุ้นเคยกับพระราชินีแคเธอรีนอยู่เป็นเวลาหลายปีและไม่ทรงโปรดแอนน์ โบลีน[11] ผู้ที่ทรงรู้จักครั้งแรกในฝรั่งเศส[12]
แมรีสิ้นพระชนม์ที่คฤหาสน์เวสต์ธอร์พฮอลล์ในซัฟโฟล์คเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1533 พระร่างถูกบรรจุที่เบอรีเซนต์เอ็ดมันด์ในซัฟโฟล์ค แต่ต่อมาถูกย้ายไปอยู่ที่วัดเซนต์แมรีในเบอรีเซนต์เอ็ดมันด์เช่นกัน แต่สำนักสงฆ์ถูกทำลายระหว่างสมัยที่มีการการยุบอารามทั่วไปในอังกฤษ ต่อมาแบรนดอนก็สมรสกับคู่หมั้นของลูกชายที่มีอายุเพียงสิบสี่ปีและมีลูกด้วยกันสองคน

[แก้] บุตรธิดา

แบรนดอนและเจ้าหญิงแมรีมีบุตรธิดาด้วยกันสามคน: