วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความเป็นมาวันแม่จัดขึ้นครั้งแรก                                   

    งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515
แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ

ดอกมะลิ สัญลักษณ์ของวันแม่

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล (ภายหลังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ)กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ณ บ้านของพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (ม.ร.ว.สท้าน สนิทวงศ์) และท้าววนิดาพิจาริณี บิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว กิติยากร ตั้งอยู่ที่ 1808 ถนนพระรามที่ 6 อำเภอปทุมวัน จ.พระนคร  ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "สิริกิติ์" มีความหมายว่า "ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร"

ตราประจำพระองค์

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระภาดา (พี่ชาย) 2 องค์ และและพระขนิษฐภคินี (น้องสาว) 1 องค์ ดังนี้ หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2472) หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2473) และ หม่อมราชวงศ์หญิง บุษบา กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2477)
ในระหว่างยังทรงพระเยาว์ สถานการณ์บ้านเมืองไม่สู้สงบนัก เนื่องจากเพิ่งพ้นจากช่วงของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ไม่นาน หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้องทรงออกจากราชการ รัฐบาลแต่งตั้งให้ไปรับตำแหน่งเลขานุการเอกประจำสถานทูตสยาม ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ส่วนหม่อมหลวงบัวซึ่งมีครรภ์แก่ ได้เดินทางไปสมทบหลังจากให้กำเนิดหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์แล้ว โดยมอบหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ให้อยู่ในความดูแลของบิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว ดังนั้นจึงต้องอยู่ไกลจากบิดามารดาตั้งแต่อายุน้อย บางคราวต้องเดินทางไปต่างจังหวัด เช่น พ.ศ. 2476 หม่อมเจ้าอัปสรสมาน กิติยากร พระมารดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ทรงรับนัดดาตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปอยู่ที่จังหวัดสงขลา ปลายปี พ.ศ. 2477 หม่อมเจ้านักขัตรมงคลทรงลาออกจากราชการแล้วกลับมาประเทศไทย จึงทำให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ซึ่งขณะนั้นอายุได้ 2 ปี 6 เดือน ได้กลับมาอยู่รวมพร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว ณ ตำหนักบริเวณถนนกรุงเกษม ปากคลองผดุงกรุงเกษม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

การศึกษา

พ.ศ. 2479 เมื่อหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์มีอายุได้ 4 ขวบ ก็ได้เข้ารับการศึกษาครั้งแรกในชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินี ทว่าในขณะนั้น แม้เหตุการณ์ด้านการเมืองภายในประเทศไทยจะสงบลง แต่สถานการณ์ระหว่างประเทศก็ไม่สงบ กล่าวคือ สงครามมหาเอเชียบูรพาเริ่มแผ่ขยายมาถึงประเทศไทย กรุงเทพมหานครถูกโจมตีทางอากาศหลายครั้งจนการคมนาคมไม่สะดวก พระบิดาจึงให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ เพราะอยู่ใกล้วังพระบิดา ได้เรียนที่นั่นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จนจบชั้นมัธยมศึกษา หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้เรียนเปียโน ซึ่งเรียนได้ดีและเร็วเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสด้วย
พ.ศ. 2489 ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้องเสด็จไปดำรงตำแหน่งรัฐทูตวิสามัญและอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำสำนักเซนต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้โดยได้ทรงพาครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ด้วย ในเวลานั้นหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ มีอายุได้ 13 ปีเศษ และเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว
ขณะที่อยู่ในประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้ศึกษาต่อทั้งวิชาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส และวิชาเปียโนกับครูพิเศษ หลังจากนั้นไม่นาน พระบิดาย้ายไปเดนมาร์กและฝรั่งเศส ตามลำดับ ขณะที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ก็ยังคงเรียนเปียโน และตั้งใจจะศึกษาต่อในวิทยาลัยการดนตรีที่มีชื่อเสียงของกรุงปารีส
ระหว่างที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้มีโอกาสรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช (ขณะนั้นทรงศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์) ซึ่งพระองค์เสด็จประพาสกรุงปารีส โดยทางรถยนต์จากสวิตเซอร์แลนด์ เพราะประสงค์จะเลือกซื้อรถยนต์พระที่นั่งแทนคันเดิม และยังได้รับชมการแสดงดนตรีของคณะที่มีชื่อเสียงด้วย ในระหว่างที่เสด็จพระราชดำเนินมายังกรุงปารีส ก็ได้ประทับที่สถานทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศสเช่นเดียวกันกับนักเรียนไทยคนอื่นในสมัยนั้น ทั้งนี้เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโปรดการดนตรีเป็นพิเศษ ขณะที่หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ก็สนใจศิลปะเช่นกัน ทำให้เกิดความความสัมพันธ์ขึ้น

ทรงหมั้น

วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งโดยมีหม่อมหลวงบัวและหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ เข้าเฝ้าฯ เยี่ยมพระอาการเป็นประจำ และในช่วงระยะเวลาที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่เฝ้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สวิตเซอร์แลนด์นั้น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (พระนามในเวลานั้น) ได้ทรงรับเป็นธุระจัดการให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เข้าศึกษาในโรงเรียน Pensionnat Riante Rive [ต้องการแหล่งอ้างอิง] ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำแห่งหนึ่งของโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายจากอาการประชวรแล้ว ก็ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เป็นการภายในเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492
หลังจากทรงหมั้นแล้ว หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ยังคงศึกษาต่อ กระทั่ง พ.ศ. 2493 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครเพื่อร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระองค์ท่านโปรดฯ ให้หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ตามเสด็จพระราชดำเนินกลับมาด้วย
อภิเษกสมรส

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงสายสะพายนพรัตน์ราชวราภรณ์เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้น ณ วังสระปทุม และโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์
หลังจากครองราชย์สมบัติอย่างกะทันหัน พระบาทสมเด็จพระหัวอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 และโปรดฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี หลังจากนั้นทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ กลับไปยังสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงรักษาพระองค์และทรงศึกษาต่อ แล้วเสด็จฯ กลับมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2495
พระราชโอรสธิดา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดา 4 พระองค์ ดังนี้
1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติ ณ สถานพยาบาลมองซัวซี นครโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494 ต่อมาได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์ (ปัจจุบัน ทรงพระนามว่า ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริโสภาพรรณวดี) เพื่อสมรสกับนายปีเตอร์ เลด เจนเซ่น ชาวอเมริกัน ทรงมีพระโอรส 1 องค์ และพระธิดา 2 องค์
2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักราดิศรสันตติวงศ์ เทเวศรธำรงสุรบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดชภูมิพลนเรศวรางกูร กิติสิริสมบูรณ์ สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2495 ต่อมา ทรงได้รับการสถาปนา ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร เมื่อ พ.ศ. 2515
3. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ต่อมาทรงได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอิสริยยศ เป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อ พ.ศ. 2520
4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม พ.ศ. 2500 ทรงอภิเษกสมรสกับ เรืออากาศโท (ยศในขณะนั้น) วีระยุทธ ดิษยะศริน ทรงมีพระธิดา 2 พระองค์
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
เมื่อ พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออกผนวชเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน และระหว่างที่ผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ปีเดียวกัน


กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ

ดอกมะลิ ดอกไม้สัญลักษณ์วันเเม่
1. ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ
2. ร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพรแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
3. การประดับไฟเฉลิมพระเกียรติ และประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
4. จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ การแสดง การประกวดต่างๆ เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
5. การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล
6. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่
 
ความเป็นมาของวันแม่
 
 
ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว
  สำหรับในประเทศไทยนั้นมีการจัดงานวันแม่ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2486 ณ.สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไปโดยปริยาย หลังจากผ่านพ้นวิกฤติสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง แต่กำหนดวันแม่ที่ประชาชนนิยม และเป็นที่รับรองของรัฐบาล คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 กำหนดงานวันแม่ในวันนี้ยังดำเนินต่อมาอีกหลายปี ก็ต้องมาหยุดชะงักลงอีก ด้วยเหตุผลที่ว่าสภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ซึ่งก็คือกระทรวงวัฒนธรรมที่ถูกยุบไปนั่นเอง
  ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย เห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีก และได้กำหนดให้จัดงานวันแม่ คือวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งในปี พ.ศ.2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม ่โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมา



  เหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย...

  นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า "แม่" ของทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ (Bilabial) ได้แก่ ม , พ , ป ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรกที่เด็กสามารถทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง ดังเช่น
ภาษาไทย แม่
ภาษาจีน ม๊ะ หรือ ม่า
ภาษาฝรั่งเศส la mere (ลา แมร์)
ภาษาอังกฤษ mom , mam
ภาษาโซ่ ม๋เปะ
ภาษามุสลิม มะ
ภาษาไทใต้คง เม
เป็นต้น 








หลักศิลาจารึก






ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือ ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 เป็นจารึกหลักแรกที่ใช้ภาษาไทยและตัวอักษรไทย ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ขึ้นเป็นต้นเค้าของตัวอักษร และวิธีการเขียนหนังสือไทยในปัจจุบัน โดยมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่ยังคงเอกลักษณ์เดิม
            ศิลาจารึกหลักนี้มีลักษณะเป็นแท่นหินรูปสี่เหลี่ยม ยอดกลมมน สูง 1 เมตร 11 เซนติเมตร หนา 35 เซนติเมตร เป็นหินชนวนสีเขียวมีจารึกทั้ง 4 ด้าน ด้านที่ 1 มี 35 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 25 บรรทัด ด้านที่ 3 มี 27 บรรทัด และด้านที่ 4 มี 27 บรรทัด ทุกหน้ามีรอยชำรุดขีดข่วน และถูกกะเทาะ เนื่อกจากทิ้งร้างเป็นเวลานานหลายร้อยปี ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยที่ทรงผนวชและเสด็จธุดงค์ไปสุโขทัยเมืองเก่า ทรงพบศิลาจารึกแท่งนี้ เมื่อ พ.ศ. 2376 มีข้อความปรากฎในสมุดจดหมายเหตุของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ว่า... "เมื่อศักราช 1195 ปีมะเส็ง เบญจศก จะเสด็จขึ้นไปประภาสเมืองเหนือ มัศการเจดียสฐานต่างๆ ...  ทรงพบ "เสาศิลา" ที่มาแต่เมืองสุโขทัย มีข้อความเกี่ยวกับหนังสือไทยแรกมีขึ้นในเมืองนั้น  โปรดเกล้าฯ ให้นำพร้อมกับพระแท่นมนังคศิลา ลงมาไว้ที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ซึ่งทรงประทับอยู่  เมื่อเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศน์ ก็โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาไว้ที่วัดนั้นด้วย"  คงจะได้ทรงศึกษาตัวอักษรและข้อความระหว่างนั้น ครั้นเสด็จเสวยราชย์แล้ว โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปไว้ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งไว้ที่ศาลาราย ข้างด้านเหนือพระอุโบสถหลังที่สอง นับจากตะวันตก จนถึง พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมารวมกับศิลาจารึกหลักอื่นๆ ที่ได้พบภายหลัง เก็บไว้ที่ตึกถาวรวัตถุหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษส์  ต่อจากนั้นมีการย้ายที่เก็บอีกหลายครั้ง จนในปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร   ก่อนอ่านจารึก                    ผู้อ่านจารึกได้เป็นคนแรก     คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เข้าใจว่าคงเริ่มพยายามศึกษาตั้งแต่ครั้งยังทรงผนวชอยู่ ในเรื่องที่เกี่ยวกับจารึกนั้น โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นแม่กองคณะนักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันคัดตัวอักษรจากแผ่นศิลาลงแผ่นกระดาษ ดังปรากฎตัวอย่างหน้าแรกที่พระราชทาน เซอร์ ยอห์น โบวริ่ง (John Bowring) เอกอัครราชฑูตอังกฤษ และได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือ The Kingdom and People of Siam ของ  เซอร์ ยอห์น โบวริ่ง นอกจากนี้ ยังได้พระราชทานราชฑูตฝรั่งเศสชุดหนึ่งด้วย              การคัดสำเนาศิลาจารึกนี้มีหลายครั้ง และมีการตึพิมพ์คำอ่านครั้งแรกในหนังสือวชิรญาณ ตอนที่ 36 เดือนกันยายน ร.ศ. 116 (พ.ศ.2440) หน้า 3543-3577  ให้ชื่อเรื่องว่า "อภินิหารการประจักษ์" ต่อมาเมื่อสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งสภานายกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร ทรงรวมเรื่องศิลาจารึกเกี่ยวกับสุโขทัยไว้ในหนังสือชุดประชุมพงศาวดาร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2457              ต่อมาเมื่อหอสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครได้จ้างศาสตราจารย์ยอร์ซ เซเดส์ (Goerge Coedes) เป็นบรรณารักษ์ใหญ่ คณะกรรมการหอพระสมุดฯ ได้มอบหมายให้ท่านเป็นผู้ตรวจค้นสอบสวนอ่านแปลศิลาจารึกภาษาต่างๆ ที่หอพระสมุดได้รวบรวมเอาไว้ ได้พิมพ์คำอ่านศิลาจารึกสุโขทัยหลายหลัก รวมทั้งหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อ พ.ศ. 2467 ในงานทำบุญฉลองครบอายุ 4 รอบ ของพระยาราชนุกูล (อวบ เปาโรหิตย์)  เรียกหนังสือนี้ว่า "ประชุมจารึกสยามภาคที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง" ที่หอสมุดแห่งชาติจัดพิมพ์ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2520
 
คัดลอก, อ้างอิง  ศาสตราจารย์ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ :
เอกสารสัมมนาเตรียมการจัดสัปดาห์ห้องสมุด ปีที่ 28, 2546.  ข้อมูลโดย : งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด


คำขวัญกรุง​เทพ








MThai News : จากที่ กทม. ได้จัดโครงการประกวดคำขวัญกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้คัดเลือกคำขวัญที่รอบสุดท้าย 5 คำขวัญ เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมโหวตผ่านทางไปรษณียบัตร โดยเจ้าของคำขวัญที่ได้รับคะแนนโหวตสูงสุดจะได้รับเงินรางวัลจำนวน 500,000 บาท และผู้ที่ส่งไปรษณียบัตรร่วมโหวตจะมีสิทธิลุ้นรับเงินรางวัล 100,000 บาท นั้น
ล่าสุด นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า มีประชาชนร่วมส่งไปรษณียบัตรโหวตทั้งสิ้น 125,959 ใบ และทาง กทม. ได้สรุปผลโหวตแล้วดังนี้
อันดับที่ 1 กรุง​เทพฯ ดุจ​เทพสร้าง ​เมืองศูนย์กลาง​การปกครอง วัด วัง งาม​เรืองรอง ​เมืองหลวงของประ​เทศ​ไทย คะ​แนน​โหวต 42,514 คะ​แนน
อันดับที่ 2 พระ​แก้วมรกตล้ำค่า ​เสาชิงช้าคู่​เมือง พระมหาราชวังลือ​เลื่อง ​เมืองน่าท่อง​เที่ยวอันดับ​โลก คะ​แนน​โหวต 36,605 คะ​แนน
อันดับที่ 3 พระราชวังสง่างาม พระอาราม​เพริศ​แพร้ว พระ​แก้วมรกตคู่​เมือง ที่ท่อง​เที่ยวลือ​เลื่อง นามกระ​เดื่อง​เมืองหลวง​ไทย คะ​แนน​โหวต 16,148 คะ​แนน
อันดับที่ 4 วัด​เวียงวังงาม​เลิศล้ำ วัฒนธรรมงาม​เสริมส่ง ราชธานีงามยืนยง สืบธำรง​ความ​เป็น​ไทย คะ​แนน​โหวต 16,037 คะ​แนน
อันดับที่ 5 กรุง​เทพมหานคร​เมืองฟ้า ​ความก้าวหน้ารุ่ง​เรือง ฟู​เฟื่องวัฒนธรรม ​เลิศล้ำ​ความ​เป็น​ไทย คะ​แนน​โหวต 14,591 คะ​แนน
ทั้งนี้ คำขวัญที่ได้รับคะแนนโหวตสูงที่สุดจะถูกนำมาใช้เป็น คำขวัญประจำกรุงเทพ และใช้ในโอกาสงานพิธีสำคัญต่างๆ



วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส


วันแม่ของประเทศฝรั่งเศส                  

 อาทิตย์แรกของเดือนมิถุนายน หรืออาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม



จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส
Mary Tudor and Charles Brandon.jpg
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระนามาภิไธยแมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส
พระมเหสีในพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส
ชาร์ลส์ แบรนดอน ดยุคแห่งซัฟโฟล์คที่ 1
วันประสูติ18 มีนาคม ค.ศ. 1496
ที่ประสูติพระราชวังริชมอนด์ ราชอาณาจักรอังกฤษ
วันสิ้นพระชนม์25 มิถุนายน ค.ศ. 1533
ที่สิ้นพระชนม์ซัฟโฟล์ค ราชอาณาจักรอังกฤษ
ราชวงศ์ทิวดอร์
วาลัวส์
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ
พระมารดาเอลิซาเบธแห่งยอร์ค สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ
พระโอรส/ธิดาเฮนรี แบรนดอน เอิร์ลแห่งลิงคอล์นที่ 1
ฟรานซ์ เกรย์ ดัชเชสแห่งซัฟโฟล์ค
เอเลนอร์ คลิฟฟอร์ด เคานเทสแห่งคัมเบอร์แลนด์
ระยะเวลาเป็นราชินี9 ตุลาคม ค.ศ. 1514 - 1 มกราคม ค.ศ. 1515
แมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Marie d'Angleterre (ออกเสียง), อังกฤษ: Mary Tudor, Queen of France) (18 มีนาคม ค.ศ. 1496 - 25 มิถุนายน ค.ศ. 1533) แมรี ทิวดอร์ เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1514 ถึงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1515
แมรีประสูติเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1496 ที่พระราชวังริชมอนด์ในราชอาณาจักรอังกฤษ ทรงเป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ และเอลิซาเบธแห่งยอร์ค แมรีทรงเป็นพระขนิษฐาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 พระองค์ทรงเสกสมรสครั้งแรกกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส เมื่อพระเจ้าหลุยส์เสด็จสวรรคตพระองค์ก็ทรงเสกสมรสเป็นครั้งที่สองกับชาร์ลส์ แบรนดอน ดยุคแห่งซัฟโฟล์คที่ 1 (Charles Brandon, 1st Duke of Suffolk)





















การเสกสมรสครั้งแรก: พระราชินีของฝรั่งเศส



เจ้าหญิงแมรีทรงเป็นพระราชบุตรีองค์ที่ห้าในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 และเอลิซาเบธแห่งยอร์ค เมื่อยังทรงพระเยาว์พระองค์ทรงมีความสนิทสนมอย่างใกล้ชิดกับพระเชษฐาเจ้าชายเฮนรี จนพระเจ้าเฮนรีประทานพระนามพระธิดาองค์โตตามพระนามของพระองค์ – แมรี นอกจากนั้นก็ยังทรงตั้งชื่อเรือรบหลวงว่า “กุหลาบแมรี” (Mary Rose) เพื่อเป็นเกียรติแก่พระองค์
เจ้าหญิงแมรีทรงได้ชื่อว่าเป็นผู้มีพระสิริโฉมงดงามที่สุดพระองค์หนึ่งในบรรดาเจ้าหญิงในยุโรป[1] พระองค์ทรงถูกหมั้นหมายกับสมเด็จพระจักรพรรดิชาร์ลส์ที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1507 แต่สถานะการณ์อันผันผวนทางการเมืองของยุโรปทำให้การเสกสมรสมิได้เกิดขึ้น[2] คาร์ดินัลทอมัส โวลซีย์ (Thomas Wolsey) จึงหันมาเจรจาสันติภาพกับฝรั่งเศส และเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1514 เมื่อมีพระชนมายุได้ 18 พรรษาเจ้าหญิงแมรีก็ทรงเสกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสผู้มีพระชนมายุ 52 พรรษาโดยมีแอนน์ โบลีนเป็นหนึ่งในนางสนองพระโอษฐ์ ราชทูตเวนิสบรรยายเจ้าหญิงแมรีว่า “ทรงมีพระวรการสูงเพรียว พระเนตรสีเทาที่ดูซีดปราศจากสี” ทรงฉลองพระองค์ไหมที่งดงามโดยมีพระเกศาสยายลงมาถึงบั้นพระองค์[3] แม้ว่าจะทรงเสกสมรสมาก่อนหน้านั้นแล้วสองครั้งแต่พระเจ้าหลุยส์ก็ยังคงพยายามที่จะมีรัชทายาท แต่พระองค์ก็มาเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1515 เพียงไม่ถึงสามเดือนหลังจากการเสกสมรส ที่ว่ากันว่าเกิดจากการที่ทรงหักโหมในกิจกรรมในห้องพระบรรทม แต่การเสกสมรสครั้งสุดท้ายก็มิได้ทำให้ทรงมีพระราชโอรสเช่นเดียวกับสองครั้งแรก หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าหลุยส์แล้วพระเจ้าฟรองซัวส์พระมหากษัตริย์องค์ใหม่ก็พยายามเสกสมรสกับพระราชินีหม้ายแต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น[4]

[แก้] การสมรสครั้งที่สอง: ดัชเชสแห่งซัฟโฟล์ค

พระราชินีแมรีไม่ทรงมีความสุขกับชีวิตสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าขณะนั้นทรงตกหลุมรักชาร์ลส์ แบรนดอน ดยุคแห่งซัฟโฟล์คที่ 1 อยู่แล้ว[5] สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 เองก็ทรงทราบความรู้สึกของพระขนิษฐา[6] แต่ก็ยังทรงหวังจะใช้การสมรสของแมรีให้เป็นประโยชน์ทางการเมืองต่อไป ฉะนั้นเมื่อทรงส่งให้แบรนดอนไปรับตัวพระราชินีแมรีในเดือนมกราคม ค.ศ. 1515 พระองค์ก็ให้แบรนดอนให้คำสัญญาว่าจะไม่ของแมรีแต่งงาน[7] แต่แมรีและแบรนดอนก็แต่งงานกันอย่างลับๆ ในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ซึ่งตามกฎแล้วก็เป็นการกระทำที่ถือว่าเป็นการกบฎต่อแผ่นดินเพราะแบรนดอนแต่งงานกับเจ้าหญิงในราชตระกูลโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากพระเจ้าเฮนรี พระเจ้าเฮนรีทรงมีความพิโรธเป็นอันมาก ฝ่ายองคมนตรีก็ยุให้พระองค์จับแบรนดอนและประหารชีวิต แต่คาร์ดินัลทอมัส โวลซีย์เข้ามาช่วยไกล่เกลี่ย และพระเจ้าเฮนรีเองก็ทรงโปรดปรานทั้งแบรนดอนและพระขนิษฐา ทั้งสองคนจึงถูกลงโทษเพียงเสียค่าปรับเป็นจำนวนมหาศาล (ประมาณ £7,200,000 เมื่อเทียบกับค่าเงินในปัจจุบัน) แต่ก็ได้รับการผ่อนผันบ้างต่อมา[8] แบรนดอนและแมรีสมรสกันอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1515 พระราชวังกรีนนิช
แม้ว่าจะทรงเสกสมรสเป็นครั้งที่สองในอังกฤษแต่แมรีก็ยังรู้จักกันในนามว่า “พระราชินีฝรั่งเศส” และไม่เป็นที่รู้จักกันตามบรรดาศักดิ์ว่าเป็น “ดัชเชสแห่งซัฟโฟล์ค” เมื่อทรงมีชีวิตอยู่[9] แมรีทรงใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่ที่ตั้งของดัชชีในซัฟโฟล์ค[10]
ความสัมพันธ์ระหว่างแมรีและสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 มาห่างเหินกันในปลายคริสต์ทศวรรษ 1520 เมื่อแมรีไม่ทรงเห็นด้วยกับการขอให้ประกาศการแต่งงานกับแคเธอรีนแห่งอารากอนเป็นโมฆะของพระเชษฐา แมรีคุ้นเคยกับพระราชินีแคเธอรีนอยู่เป็นเวลาหลายปีและไม่ทรงโปรดแอนน์ โบลีน[11] ผู้ที่ทรงรู้จักครั้งแรกในฝรั่งเศส[12]
แมรีสิ้นพระชนม์ที่คฤหาสน์เวสต์ธอร์พฮอลล์ในซัฟโฟล์คเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1533 พระร่างถูกบรรจุที่เบอรีเซนต์เอ็ดมันด์ในซัฟโฟล์ค แต่ต่อมาถูกย้ายไปอยู่ที่วัดเซนต์แมรีในเบอรีเซนต์เอ็ดมันด์เช่นกัน แต่สำนักสงฆ์ถูกทำลายระหว่างสมัยที่มีการการยุบอารามทั่วไปในอังกฤษ ต่อมาแบรนดอนก็สมรสกับคู่หมั้นของลูกชายที่มีอายุเพียงสิบสี่ปีและมีลูกด้วยกันสองคน

[แก้] บุตรธิดา

แบรนดอนและเจ้าหญิงแมรีมีบุตรธิดาด้วยกันสามคน:




เทศกาลต่างๆของประเทศฝรั่งเศส


งานฉลองที่มีสีสันและสนุกสนานตั้งแต่เช้ายันค่ำ จะหมุนเวียนจัดกันไปจัดตามเมืองต่างๆ ทั่วฝรั่งเศส
งานเทศกาลที่จัดกันในปัจจุบันล้วนเป็นมรดกตกทอดสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งอดีต หมู่บ้านแต่ละแห่งจะต้องมีงานฉลองของตน และในแต่ละเมืองจะต้องมีเทศกาลของดีของเด่นประจำปีไว้สนุกสนานกัน เช่น งานเดินขบวนคนยักษ์ (คนต่อขา) ของทางตอนเหนือของฝรั่งเศส งานคาร์นิวัลเมืองนีซ (
Nice) งาน Ferias เมืองนีมส์ (Nîmes) และเมืองอาร์ล (Arles) งานประจำปีเมืองบายอน (Bayonne) หรือเมืองเบซิเยส์ (Béziers) ฯลฯ งานเหล่านี้เป็นที่รวมความสนุกสนานของชาวเมืองซึ่งยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวจากต่างถิ่นให้มาร่วมความบันเทิงด้วยกัน นอกจากงานเทศกาลต่างๆ ในเขตภูมิภาคแล้ว ฝรั่งเศสยังมีงานสำคัญประจำปีระดับชาติอีก 2 งาน ซึ่งทุกเมืองจะเฉลิมฉลองพร้อมๆ กัน งานแรกคืองานวันชาติ 14 กรกฎาคมซึ่งเป็นวันสำคัญที่เปิดตัวด้วยการสวนสนามของทหารเหล่าต่างๆ และจัดขึ้นอย่างใหญ่โตที่ถนนชองส์-เอลิเซ่ส์ (Champs-Elysées) อันเลื่องชื่อของปารีส พอถึงกลางคืนจะมีการจุดดอกไม้ไฟที่สวยงามตระการตา และมีงานเต้นรำที่สนุกสนานแบบฝรั่งเศสแท้ ส่วนตามเมืองใหญ่ๆ มักจัดการแสดงดนตรีกลางแจ้งให้ชมกันโดยไม่ต้องเสียค่าผ่านประตู งานใหญ่งานที่สองคือ เทศกาลดนตรีซึ่งจัดขึ้นทุกวันที่ 21 มิถุนายน เทศกาลนี้เปิดโอกาสให้คนรักดนตรีทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นได้แสดงความสามารถกันเต็มที่และสุดเหวี่ยงในท้องถนนและทุกหนทุกแห่ง นอกจากนี้ยังมีเทศกาลเพลงคลาสสิค ละคร ละครสัตว์ และอื่นๆ อีกมากมายตลอดทั้งปี เพียงเท่านี้คุณก็คงพอรู้แล้วว่าในฝรั่งเศสความสนุกสนานเพลิดเพลินนั้นไม่มีการเว้นวรรคจริงๆ

สำหรับคนนอนไม่หลับ
ราตรีที่หวานซึ้งหรือค่ำคืนที่เฮฮาเป็นบรรยากาศที่คุณเลือกได้ในสถานบันเทิงที่มีอยู่มากมายหลายแห่ง ถ้าคุณชอบดื่มสังสรรค์กับเพื่อนๆ ในบรรยากาศที่เป็นกันเองแล้วล่ะก็ ตามเมืองใหญ่ๆ ของฝรั่งเศสมีบาร์ซึ่งเปิดเพลงทุกสไตล์ให้เลือกตามรสนิยม ทั้งลาติโน แจ๊ซ ไลท์ มิวสิค เว็บ เทคโน หรือแม้แต่เพลงอาหรับ... และถ้าใครยังไม่เหนื่อยอยากไปเต้นรำต่อ ก็ยังมีสถานบันเทิงขนาดยักษ์ที่เปิดเพลงมันๆ หลายสไตล์โดยดีเจจากทั่วโลก ให้นักดิ้นเท้าไฟได้สะบัดในทุกท่วงท่า ทั้งฮิปฮอป แจ็ซ โซล หรือเพลงแอฟริกัน ส่วนคุณที่ชอบลีลาศแบบหรูหรือบอลรูมแบบเก่าย้อนยุค ก็รับรองว่าไม่มีวันผิดหวัง และเมื่อยามเช้ามาถึงแต่คุณยังมีแรงเที่ยวต่อ ก็ยังมีที่ที่คุณจะได้สนุกส่งท้ายกันอีก
เทศกาล Carnaval de Nice
มีจัดขึ้นทุก ๆ เดือนกุมภาพันธ์ นักท่องเที่ยวจะหลั่งไหลมาร่วมงานกันเยอะมากรถทัวร์จอดเรียงกันเป็นตับริมทะเล โรงแรมถูกจองเต็มทุกแห่งถือเป็นงานใหญ่ประจำปีของทางเฟร้นช์ริเวียร่านี้เลยล่ะ ทางเมืองเขาทุ่มงบเต็มที่แต่ละปี เขาก็เปลี่ยน theme การแสดง ให้แตกต่างกันออกไป สำหรับ Theme ของปี 2010 คือ " King Of The Blue Planet " บรรดาขบวนพาเหรดน้อยใหญ่จึงถูกออกแบบขึ้นโดยเน้นสัตว์ในท้องทะเลเป็นหลักค่ะ รถทัวร์จอดเรียงกันเป็นตับริมทะเล โรงแรมถูกจองเต็มทุกแห่งถือเป็นงานใหญ่ประจำปีของทางเฟร้นช์ริเวียร่านี้เลยล่ะ ทางเมืองเขาทุ่มงบเต็มที่
.. คลิก ๆ ชมคลิปวีดีโอกันก่อนเล้ยยยย ..
เทศกาลละครที่ Avignon
Avignon Theatre Festival สร้างโดย Jean Vilar ในปี 1947 เป็นปีองฤดูร้อนู้คนมักแวะพักันที่นี้และจำเป็นในชีวิตทางวัฒนธรรมของฝรั่งเศส

เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์
เป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1946 ถือเป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเทศกาลหนึ่ง และมีอิทธิพลมากที่สุดรวมถึงชื่อเสียง เทียบเคียงกับเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิสและเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน งานจัดขึ้นประจำปี ราวเดือนพฤษภาคม ที่ Palais des Festivals et des Congrès ในเมืองคานส์ ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส
สัญลักษณ์ประจำเทศกาล
พรมแดงในเมืองคานส์
บรรยากาศภายในงาน Cannes Film Festival 2010
เทศกาลการ์ตูนที่ Angoulème
ประวัติเล็กน้อย นี้แน่นอนก็คือ Angoulême การ์ตูน City International และภาพที่บันทึกภาพการ์ตูนทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในฝรั่งเศส ประเภทของห้องสมุดแห่งชาติการ์ตูน ... และยังอย่างใดไม่มีอะไรจะ Angouleme เพื่อผูกความสัมพันธ์ให้ดีกับศิลปะที่ 9เมืองอุตสาหกรรมขนาดเล็กมี Angouleme ไม่มีการเชื่อมต่อโดยเฉพาะในจักรวาล 70s ต้นนี้ มันเริ่มต้นด้วยนิทรรศการง่ายๆเรื่อง"10 ล้านภาพ : ยุคทองของการ์ตูน"จัดในช่วงปลาย 1972 ใน Groux ริเริ่มของ Francis จากนั้นสมาชิกสภาเทศบาล เขามีความคิดที่จะโทร Claude Moliterni เพื่อให้ได้ภาพและเสียงสำหรับงานนิทรรศการ
ในปีถัดไป, John Mardikian, รองนายกเทศมนตรีวัฒนธรรมคือการจัดปักษ์ของวรรณคดีที่ที่เขาสงวนสองวันพุธอุทิศให้กับการ์ตูน แม้นั้นของผู้เขียนที่มีชื่อเสียงมากขึ้นลักษณะที่ Angouleme ต่อไปความกระตือรือร้นที่ตามนั้นมันก็เพียงพอที่เนื่องจากปีนี้เทศกาลถูกสร้างขึ้นในรูปแบบปัจจุบัน มันหนักเสมอเพื่อเทศกาล Lucca ในเวลาที่ใหญ่ที่สุดของชนิดในยุโรปแล้วจะจัดโดยสมาคมประธาน Francis Groux และมีเลขานุการเป็นผู้ใดนอกจาก John Mardikian ทั่วไป
ความสำเร็จของงานเป็นผลมาจากการเปิดกว้างในการสไตล์ของ strip - การ์ตูน นอกจากนี้การกระจายอำนาจของกิจกรรมสามารถ goers งานใน เมืองจะช่วยให้งานที่กระจายไปพื้นที่ infinite จริงในขณะที่ช่วยให้ผู้เข้าชมจะผสมธุรกิจกับความสุขในการทำบางเที่ยว นอกจากกว่าปีวิชาการและการประชุมอื่น ๆ คูณในทุกวิชาจึงเพิ่มแผงซึ่งเป็นงานสาธารณ

รูปภาพบรรยากาศภายในเทศกาลการ์ตูนAngoulème
คลิปวีดีโอภายในงานเทศกาล
เทศกาลลาเวนเดอร์ Fête de la lavande
...กลับมาอีกครั้งกับเทศกาลลาเวนเดอร์ประจำปีในแคว้นโพรวองซ์ ต้อนรับนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลมาชมการเก็บเกี่ยว เลือกชม เลือกชิม เลือกซื้อสินค้าโดยตรงจากเกษตรกร สาธิตการกลั่นลาเวนเดอร์ และขั้นตอนการผลิตผลิตภัณฑ์จากลาเวนเดอร์ ชมการแสดงพื้นเมือง ของชาวโพรวองซ์ ร่วมเก็บเกี่ยวลาเวนเดอร์จากทุ่งและนำกลับไป เป็นของที่ระลึกจากโพรวองซ์ พลาดไม่ได้กับการนั่งเฮลิคอปเตอร์ ชมทุ่งลาเวนเดอร์ที่กว้างสุดลูกหูลูกตา ... วันที่ 4 กรกฎาคม ที่เมือง Ferrassières ... วันที่ 18 กรกฎาคม ที่เมือง Valensole



เทศกาลอาวิญญง FESTIVAL D'AVIGNON
... เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1947 สำหรับงานแสดงหนังและละครประจำปี หากใครที่ชื่นชอบศิลปะ การแสดงละครโอเปร่า ดนตรีทุกสาขาจาก ทุกมุมโลก พลาดไม่ได้เพราะที่นี่จะมีละครโอเปร่าดีๆ รวมถึงละคร ดนตรี และการละเล่นอีกมากมาย จัดแสดงในพระราชวัง พระสันตะปาปา โรงละครเก่าแก่ประจำเมือง และหลายๆมุมของ Avignon แสดงทั้งวันและทุกวัน ในช่วงเทศกาลระหว่างวันที่ 7-27 กรกฎาคม